ให้เรียนสืบค้นเรื่ององค์กรมรดกโลก

มรดกโลก World Heritage Site คืออะไร
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น


ารแบ่งประเภทของมรดกโลก?
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น


ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก?
 ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
               เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ   และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา  ได้แก่สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ แล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้? และ มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว?
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก..
  • 2539 (1996) - - Monasteries of Haghpat and Sanahin
  • 2543 (2000) - - Cathedral and Churches of Echmiatsin and the Archaeological Site of Zvartnots
  • 2543 (2000) - - Monastery of Geghard and the Upper Azat Valley
  • 2543 (2000) - - Walled City of Baku
  • 2550 (2007) - - Gobustan Rock Art Cultural Landscape
  • 2528 (1985) - - นครมัสยิดประวัติศาสตร์บาเครหัต
  • 2528 (1985) - - แหล่งวิหารทางพุทธศาสนาพาฮาร์ปุระ
  • 2540 (1997) - - ซันดาร์บัน
  • 2537 (1994) - - Bagrati Cathedral in Kutaisi and Gelati Monastery
  • 2537 (1994) - - Historical Monuments of of Mtskheta
  • 2539 (1996) - - Upper Svaneti
  • 2522 (1979) - -
    Naghsh-i Jahan Square
  • 2522 (1979) - - Tchogha Zanbil
  • 2522 (1979) - - เปอร์เซโปลิส
  • 2546 (2003) - - Takht-e Soleyman
  • 2547 (2004) - - Bam and its Cultural Landscape
  • 2547 (2004) - - Pasargadae
  • 2548 (2005) - - Dome of Soltaniyeh
  • 2549 (2006) - - Bisotun
  • 2551 (2008) - - ป้อมวิหารอาร์เมเนีย
  • 2552 (2009) - - Shushtar Historical Hydraulic System
  • 2553 (2010) - - อนุสาวรีย์บรรจุพระศพ ชีค ซาฟี อัลดิน เมืองอาร์ดาบิล
  • 2553 (2010) - - ตลาดประวัติศาสตร์ทาบรีซ
  • 2524 (1981) - - Old City of Jerusalem and its Walls
  • 2544 (2001) - - มาซาดา
  • 2544 (2001) - - Old City of Acre
  • 2546 (2003) - - นครสีขาวแห่งเทลอาวีฟ
  • 2548 (2005) - - Biblical Tels - Megiddo, Hazor, Beer Sheba
  • 2548 (2005) - - Incense Route - Cities in the Negev - Haluza, Mamshit, Avdat, Shivta
  • 2551 (2008) - - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บาฮาอิในเมืองไฮฟา และอาลิลีตะวันออก
  • 2546 (2003) - - อนุสาวรีย์บรรจุศพของโฮยา อะเหม็ด ยาซาวี
  • 2547 (2004) - - จิตรกรรมขูดหินภายในภูมิทัศน์ทางโบราณคดีแห่งทัมกาลีย์
  • 2551 (2008) - - ซาร์ยาร์กา ทุ่งกว้างและทะเลสาบทางตองเหนือของคาซัคสถาน
  • 2553 (2010) - - พื้นที่อนุรักษ์หมู่เกาะฟินิกซ์
  • 2552 (2009) - - Sulaiman-Too Sacred Mountain

  • 2553 (2010) - - เกาะปะการังบิกินี่ สถานที่ทดลองนิวเคลียร์
  • 2533 (1990) - - เท วาฮีโปอูนามู - นิวซีแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้
  • 2533 (1990) - - อุทยานแห่งชาติตองการิโร
  • 2541 (1998) - - หมู่เกาะกึ่งขั่วโลกใต้แห่งนิวซีแลนด์
  • 2523 (1980) - - กลุ่มซากโบราณคดีที่โมเอนโจดาโร
  • 2523 (1980) - - ตักสิลา
  • 2523 (1980) - - Buddhist Ruins at Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol
  • 2524 (1981) - - ป้อมและสวนชาลามาร์แห่งลาฮอร์
  • 2524 (1981) - - กลุ่มอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งทัตตา
  • 2540 (1997) - - ป้อมโรห์ตัส
  • 2551 (2008) - - Kuk Early Agricultural Site
  • 2536 (1993) - - อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ
  • 2536 (1993) - - โบสถ์ยุคบารอคแห่งฟิลิปปินส์
  • 2538 (1995) - - นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
  • 2542 (1999) - - นครประวัติศาสตร์วีกัน
  • 2542 (1999) - - อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา
รัสเซีย (ส่วนที่อยู่ในเอเชีย) (8)
  • 2539 (1996) - - กลุ่มภูเขาไฟคัมชัตคา (ขยายเพิ่มปี 2544)
  • 2539 (1996) - - ทะเลสาบไบคาล
  • 2541 (1998) - - Golden Mountains of Altai
  • 2544 (2001) - - แนวเขาซีโคเต-อะลินตอนกลาง
  • 2546 (2003) - - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันมองโกเลีย)
  • 2547 (2004) - - Natural System of Wrangel Island Reserve
  • 2542 (1999) - - Western Caucasus (รวมอยู่ในทวีปยุโรปด้วย)
  • 2546 (2003) - - Citadel, Ancient City and Fortress Buildings of Derbent, Dagestan (รวมอยู่ใทวีปยุโรปด้วย)
  • 2541 (1998) - - เรนเนลล์ตะวันออก
  • 2525 (1982) - - นครประวัติศาสตร์โปลอนนารุวา
  • 2525 (1982) - - นครประวัติศาสตร์สิคิริยา
  • 2525 (1982) - - เมืองศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ
  • 2531 (1988) - - เมืองเก่าและป้อมแห่งเมืองโกลล์
  • 2531 (1988) - - เมืองศักดิ์สิทธิ์คานดี
  • 2531 (1988) - - พื้นที่ป่าสงวนสิงหราชา
  • 2534 (1991) - - วัดทองแห่งดัมบุลลา
  • 2553 (2010) - - ที่ราบสูงตอนกลางแห่งศรีลังกา
  • 2553 (2010) - - แหล่งโบราณคดีซาราสซึม
  • 2542 (1999) - - อุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "เมียร์ฟโบราณ"
  • 2548 (2005) - - คูเนีย - อูร์เกนช์
  • 2550 (2007) - - ป้อมปราการมาร์เทียนแห่งนีซา

  • 2533 (1990) - - อิตชานคาลาแห่งเมืองคีวา
  • 2536 (1993) - - ศูนย์ประวัติศาสตร์บูคารา
  • 2543 (2000) - - ศูนย์ประวัติศาสตร์ชาห์รีซับซ์
  • 2544 (2001) - - ซามาร์คันด์
  • 2551 (2008) - - Chief Roi Mata’s Domain
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก?
เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
   ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
   ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
   นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
   นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้